The trade4trade logo symbolizing global trade

การเงินเชิงพฤติกรรม

จิตวิทยาการเทรดถือเป็นสาขาที่น่าสนใจอย่างยิ่ง หากคุณพิจารณาถึงผลกระทบของปัจจัยทางด้านจิตใจและอารมณ์ที่มีต่อผลการเทรด

พฤติกรรมของบุคคลในหลายแง่มุมที่มีบทบาทและมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทางการเงิน ประกอบกับพิจารณาถึงความเครียดที่เกิดจากความผันผวนของ

 

ตลาดและความผันผวนของราคาที่รุนแรง คุณจะไม่แปลกใจเลยที่การศึกษาความรู้สึกต่างๆ รวมถึงวิธีที่ความรู้สึกเหล่านั้นผลักดันให้เทรดเดอร์ดำเนินการบางอย่างได้กลายมาเป็นที่นิยมอย่างมาก

 

แนวคิดที่ผสมผสานร้อยเรียงกันภายใต้แนวคิดทางจิตวิทยานี้คือ การเงินเชิงพฤติกรรม การเงินเชิงพฤติกรรมเรียกได้ว่าเป็นส่วนย่อยของเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมของนักลงทุนได้รับอิทธิพลจาก

องค์ประกอบทางจิตวิทยาและอคติต่างๆ อีกทั้งแนวคิดนี้ยังเสนอว่า ความแปรปรวนภายในตลาดการเงินอาจเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ เช่น การเคลื่อนไหวที่รุนแรงของราคาสินทรัพย์เฉพาะ อย่างเช่นราคาหุ้น นอกจากนี้จริงๆ แล้ว 

 

การที่งานวิจัยนี้เป็นที่ยอมรับมากขึ้นถือได้ว่าเป็นการกระตุ้นให้สถาบันที่มีชื่อเสียงต่างๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มอบหมายให้พนักงานสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวคิดการเงินเชิงพฤติกรรม และผลกระทบของแนวคิดนี้ต่อธุรกรรมทางการเงินต่างๆ

อิทธิพลของอคติ

องค์ประกอบหลักประการหนึ่งของการเงินเชิงพฤติกรรมคือ อิทธิพลของอคติ ยิ่งไปกว่านั้น อคติที่มีอิทธิพลต่อตลาดและ/หรือผลลัพธ์การเทรดยังสามารถจำแนกออกเป็น 5 แนวคิดหลักได้ดังนี้:

พฤติกรรมแห่ตามฝูงชน

Herd behaviour refers to those instances when investors or other financial practitioners copy the financial behaviours of a larger majority (i.e., the herd). This behaviour is frequently witnessed in the stock market and often the reason for selloffs or rallies.

ช่องว่างทางอารมณ์

ช่องว่างทางอารมณ์หมายความถึงการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยอารมณ์ที่รุนแรงหรือความเครียดทางอารมณ์ พฤติกรรมนี้มักเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้คนตัดสินใจโดยไร้เหตุผล

พฤติกรรมเข้าข้างตนเอง

พฤติกรรมเข้าข้างตนเองคือการตัดสินใจด้วยความมั่นใจในความรู้หรือทักษะของตนเองมากเกินไป พฤติกรรมนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นจากความเชี่ยวชาญในแวดวงความรู้ที่บุคคลหนึ่งมี ในกรณีนี้ นักลงทุนอาจมองว่าความรู้ความเชี่ยวชาญของตนเหนือกว่าผู้อื่น แม้ว่าจะไม่เป็นความจริงก็ตาม

พฤติกรรมการแบ่งบัญชีในใจ

แนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่พัฒนาโดย Richard Thaler นักเศรษฐศาสตร์ผู้ซึ่งชนะรางวัลโนเบล การแบ่งบัญชีในใจหมายความถึงมูลค่าที่แต่ละบุคคลกำหนดให้กับเงินจำนวนที่เท่ากัน ซึ่งโดยทั่วไปมูลค่ามักจะอิงตามเกณฑ์ส่วนตัวและบ่อยครั้งอาจนำไปสู่การลงทุนหรือการตัดสินใจเทรดอย่างไม่สมเหตุสมผล

พฤติกรรมการตั้งเกณฑ์ในการตัดสินใจ

พฤติกรรมการตั้งเกณฑ์ในการตัดสินใจในการเงินเชิงพฤติกรรมคือการที่ผู้คนใช้ข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่น ราคาเริ่มต้นของหลักทรัพย์ มาเป็นเกณฑ์มาตรฐานอ้างอิงสำหรับการตัดสินใจเกี่ยวกับหลักทรัพย์นั้นในภายหลังโดยไม่รู้ตัว

นอกจากนี้การวิจัยและการวิเคราะห์ภายในขอบเขตของการเงินเชิงพฤติกรรมยังได้เปิดเผยถึงอคติและลักษณะนิสัยเฉพาะแปลกๆ ของบรรดานักลงทุนไว้ดังนี้:

อคติจากการพยายามยืนยันความเชื่อของตน:

occurs when investors favour information that aligns with their existing beliefs, even if flawed.

อคติจากประสบการณ์หรือการให้น้ำหนักกับสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น:

เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ล่าสุดที่เป็นตัวกำหนดการรับรู้ของนักลงทุนเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคต

การเกลียดชังความสูญเสีย:

คือการมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับการหลีกเลี่ยงความสูญเสียมากกว่าพยายามทำให้ได้ผลกำไรมา ซึ่งนำไปสู่พฤติกรรมไม่ชอบความเสี่ยง

อคติจากความคุ้นเคย:

manifests when investors favour familiar investments, potentially limiting diversification. This often leads to a preference for domestic or locally known investments, neglecting broader market exposure.

อคติแต่ละประเภทได้สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการรับรู้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทางด้านการเงิน ซึ่งส่งผลต่อวิธีที่นักลงทุนประเมินและตอบสนองต่อข้อมูล เหตุการณ์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น